วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

ส่งรายงาน


หลอดไฟ






นางสาวอภิญญา      สุมามาลย์    คาบเรียนวันพุธเช้า






รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชา  ทักษะทางสารนิเทศ (Information Literacy)
สาขา ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล คณะเทคโนโลยีการจัดการ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2555
....................................................................................................


คำนำ
            รายงานเรื่อง หลอดไฟฉบับนี้ได้จัดทำเพื่อประกอบการเรียนการสอนในรายวิชา ทักษะทางสารนิเทศ (Information Literacy) รหัสวิชา 00-021-101 ซึ่งรายงานเล่มนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
                เนื้อหาภายในรายงานได้มีการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลประเภทของหลอดไฟ ส่วนประกอบของหลอดไฟ และการเลือกซื้อหลอดไฟ ชนิดของหลอดไฟเป็นต้น  เพื่อให้ง่ายต่อ การศึกษาจึงได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของรายงาน
                สุดท้ายนี้หากรายงานฉบับนี้มีข้อผิดพลาดหรือข้อบกพร่องประการใด ข้าพเจ้า ยินดีจะนำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป


                                                                                                                    อภิญญา      สุมามาลย์   
                                                                              28  กันยายน


.............................................................................................................................................



สารบัญ
คำนำ                                                                                                               หน้า                                      สารบัญภาพประกอบ                                                                                       (ก)                                       บทที่                                                                                                                  (ข)
1   บทนำ                                                                                                                             1                                                 1.1 ความหมายของหลอดไฟ                                               1
    2    ส่วนประกอบของไฟ                                                                                                 1
            2.1  ออกซิเจน                                                                                                          1
            2.2  เชื้อเพลิง                                                                                                            1
            2.3  ความร้อน                                                                                                          1
   3  ประเภทของหลอดไฟ                                                                                                   2             
                3.1  หลอดไส้                                                                                                        2
                3.2  หลอดฮาโลเจน                                                                                               2
                3.3  หลอดไอปรอท                                                                                               3
3.4  หลอดเมทัลฮาไลน์                                                                                            4
                3.5  หลอดฟลูออเรสเซนต์                                                                                     5                             
                3.6  หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์                                                                      6
                3.7   หลอด LED                                                                                                    8
      4   การเลือกซื้อหลอดไฟ                                                                                                  9

.........................................................................................................



สารบัญภาพประกอบ
ภาพที่                                                                                                            หน้า     
1    แสดงภาพ หลอดฮาโลเจน                                                                                         3  
2    แสดงภาพ หลอดไอปรอท                                                                                         3  
3    แสดงภาพ หลอดเมทัลฮาไลน์                                                                                   4
4    แสดงภาพ หลอดฟลูออเรสเซนต์                                                                              6                            
5     แสดงภาพ หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์                                                               7
7   แสดงภาพ หลอด LED                                                                                                8

.....................................................................................................................



หลอดไฟ
1 บทนำ
1.1 ความหมาย
                   ในปัจจุบันนี้มีหลอดไฟให้เราเลือกใช้อยู่มากมายหลายประเภท มีทั้งหลอดไฟที่ให้ความสว่างแตกต่างกัน หรือว่าเป็นหลอดที่มีความสว่างเท่ากันแต่เป็นคนละประเภท ซึ่งประสิทธิผลย่อมแตกต่างกัน ดังนั้นก่อนการเลือกติดตั้งหลอดไฟ ภายในบ้านของเรานั้น ควรศึกษาและทำความเข้าใจหลอดไฟประเภทต่างๆ ในท้องตลาดว่ามีลักษณะและประเภท การใช้งานอย่างไร เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด และยังช่วยประหยัดพลังงานอีกด้วย
1.2 ส่วนประกอบของไฟ  
                     1.2.1  - ออกซิเจน ( Oxygen )ไม่ต่ำกว่า 16 % (ในบรรยากาศ  ปกติจะมีออกซิเจนอยู่ประมาณ 21 %)
                    1.2.2- เชื้อเพลิง ( Fuel )  ส่วนที่เป็นไอ (เชื้อเพลิงไม่มีไอ ไฟไม่ติด)
                    1.2.3- ความร้อน ( Heat ) เพียงพอทำให้เกิดการลุกไหม้
ไฟจะติดเมื่อองค์ประกอบครบ 3 อย่าง  ทำปฏิกิริยาทางเคมีต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ ( Chain Reaction )
      วิธีการดับไฟจึงมีอย่างน้อย  3  วิธี คือทำให้อับอากาศ ขาดออกซิเจน ตัดเชื้อเพลิง กำจัด เชื้อเพลิงให้หมดไปลดความร้อน ทำให้เย็นตัวลง ถ้าหากเราตัดองค์ประกอบของไฟอย่างใดอย่าง หนึ่งออกไฟก็จะดับลงได้ ซึ่งควรดับให้สนิทเพราะเมื่อเวลาผ่านไปองค์ประกอบทั้ง3อย่างกับมา รวมกันอีกครั้ง ไฟก็จะลุกขึ้นมาติดได้อีก       


1.3 ประเภทของหลอดไฟ
    1.3.1  หลอดไส้ หรือ หลอดอินแคนเดสเซนท์
   บางทีเรียกว่าหลอดดวงเทียน มีทั้งชนิดแก้วใส และแก้วฝ้า ไส้หลอดทำจากทังสเตน เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไส้หลอดจะเกิดความร้อนขึ้น ยิ่งความร้อนมากขึ้นเท่าใดแสงสว่างที่เปล่งออกมาจากไส้หลอดก็จะมากขึ้นเท่านั้น และให้แสงสีเหลืองส้ม อายุการใช้งานสั้น ทั้งยังสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าอย่างมาก เนื่องจากสูญเสียพลังงานไปกับความร้อนที่เกิดขึ้น เพราะสาเหตุนี้ปัจจุปันนี้จึงไม่เป็นนิยมนำหลอดไฟชนิดนี้ไปใช้งาน
    1.3.2  หลอดฮาโลเจน
มีหลักการทำงานคล้ายกับหลอดไส้คือ กำเนิดแสงจากความร้อน โดยให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไส้หลอดที่ทำจากทังสเตน แต่จะแตกต่างจากหลอดไส้ ตรงที่มีการบรรจุสารตะกูลฮาโลเจน ได้แก่ ไอโอดีน คลอลีน โบรมีน และฟลูออรีน ลงในหลอดแก้วที่ทำด้วยควอทซ์ ซึ่งจะช่วยให้หลอดฮาโลเจนมีอายุการใช้งาน ปริมาณแสงสว่าง อุณหภูมิสี สูงกว่าหลอดไส้ และให้แสงสีขาว และให้ค่าความถูกต้องของสีถึง 100 % มีอายุการใช้งานประมาณ 1ฮาโลเจน คล้ายกับหลอดไฟกลมที่ใช้ในบ้าน ต่อไฟเข้าไปโดยตรงเลย ส่วน XENON
คล้ายกับหลอดนีออนที่บ้าน ไม่มีไส้ และต้องมีตัวแปลงไฟหรือบัลลาร์ด ด้วยความโดดเด่นของไฟ
XENON ว่า สว่างมีแสงขาวดีและมีราคาแพง จึงเป็นเหตุให้มีการใช้ชื่อ XENON ไปเรียกหลอดฮาโลเจนแบบพิเศษหรือหลอดของแต่ง ที่มีความสว่างสูงกว่าปกติ หรือย้อมสีตัวเปลือกหลอดให้มีแสงไม่อมเหลือง
เป็นแสงเกือบขาวหรืออมฟ้า แต่ยังไงก็ไม่เหมือน XENON แท้ๆ โดยเป็นหลอดฮาโลเจน แต่พยามเรียกว่าเป็น XENON นับว่าเมื่อไรเป็นหลอดฮาโลเจนของแต่งที่มีแสงสีขาว หรืออมฟ้าอมม่วง บางทีก็ถูกโมเม
เรียกว่า XENON เลย ทั้งที่คนที่เรียกยังไม่เข้าใจระบบ XENON จริงๆ ก็เป็นได้ ถ้าเป็นของราคาถูกยี่ห้อ ทั่วไปหรือของไต้หวันก็อาจจะมั่วเรียกว่า XENON เลย แต่ถ้าเป็นยี่ห้อดัง อาจจะอายหน่อย เรียกเลี่ยงๆ ว่า XENON LOOKS หรือสารพัดประโยคที่จะหลอกให้เข้าใจผิดว่าเป็น XENON หลายคนจึงเข้าใจผิดว่า หลอดฮาโลเจนของแต่งที่สีขาวหรืออมฟ้า หรือสีแปลกๆ ราคาคู่ละหลายร้อยบาทหรือเป็นพันบาท คือ หลอด XENON ทั้งที่ไม่ใช่เลย500-3000 ชม จึงนิยมใช้ให้แสงพวกเครื่องประดับ หรือให้แสงสำหรับการแต่งหน้า
 
.3.3 หลอดไอปรอท หรือ หลอดแสงจันทร์ 
การทำงานของหลอดประเภทนี้ จะทำงานด้วยหลักการปล่อยประจุความเข้มสูง มีอายุการใช้งาน  ประมาณ 24000 ชม มีค่าความถูกต้องของสีค่อนข้างต่ำ แสงจะออกนวลมีปริมาณแสงสว่างต่อวัตต์  สูงกว่าหลอดชนิดอื่นๆ แสงส่องสว่างได้ไกลเหมาะกับงานสนามและภายนอกอาคาร เมื่อเปิดหลอด  ประเภทนี้ จะต้องใช้เวลาสักพักหนึ่งก่อน จะทำงานได้เต็มที่ และเมื่อปิดแล้วก็ต้องรออีกราวสิบนาที  ก่อนจะเปิดใช้งานได้อีก ปัจจุบันหลอดไอปรอท ไม่นิยมใช้งานแล้ว เนื่องจากดูแลรักษายาก และ  ปรอท ก็ยังเป็นพิษต่อคนและสิ่งแวดล้อม                                                                                    หลอดแสงจันทร์รุ่นมาตรฐาน HPL-N
  • หลอดแสงจันทร์หรือหลอดเมอร์คิวรี่ รูปทรงโบว์ลิ่งให้แสงขาวนุ่มนวล
  • ให้แสงสว่างมาก
  • เหมาะ ที่จะใช้ให้แสงสว่างบริเวณสวนสาธารณะ โรงงาน,ลานจอดรถ,สถานีรถไฟ อาคารที่อยู่อาศัย โรงเรียน
  • บัลลาสต์ที่ใช้ : BHL

1.3.4 หลอดเมทัลฮาไลน์
      ลักษณะการกำเนิดแสงสว่าง คล้ายกับหลอดแสงจันทร์ แต่ภายในบรรจุอิเล็กตรอนที่ทำด้วยทังสเตนล้วนๆ ภายในกระเปาะผสมฮาไลน์ชนิดต่างๆ ทำให้ได้ ปริมาณแสงมากขึ้นกว่าหลอดแสงจันทร์ เกือบเท่าตัว ได้แสงสีสมดุลขึ้น จนดูใกล้เคียงแสงแดด อายุการใช้งานประมาณ 24000 ชม ใช้กับงานที่ต้องการความถูกต้องสีมาก เช่น งานพิมพ์สี สนามกีฬาเฉพาะที่มีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ สวนสาธารณะ ห้างสรรพสินค้า
  • หลอดเมทัลฮาไลท์ที่มีขั้วแบบ Double-end ชนิดคอมแพ็คเป็นหลอดแรงดันสูง
  • ขนาดกะทัดรัด จึงสามารถใช้กับโคมที่มีขนาดเล็กแต่ให้ประสิทธิภาพสูง
  • เป็นหลอดไฟแบบขั้วคู่ 
  • สถานที่ใช้งาน เช่น สนามกีฬา ไฟส่องทั่วไป
  • อายุการใช้งาน 9,000 ชั่วโมง
  • ให้ความถูกต้องของสีสูง
  • บัลลาสต์ ที่ใช้ : BMI +อิกนิเตอร์ SN58 สำหรับหลอด 70W BSN +อิกนิเตอร์ SN58 สำหรับหลอด 150W,250W
  • ข้อแนะนำ : โคมที่ใช้ควรเป็นโคมที่มีกระจกปิดหน้า

1.3.5  หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือ หลอดนีออน
    เป็นหลอดแก้วทรงกระบอก หรือแบบกลม ด้านในหลอดเคลือบด้วยสารเรืองแสง ก๊าชที่บรรจุอยู่ภายในหลอดจะแตกตัวเป็น ไอออนเมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปกระทบก๊าช จะเกิดรังสีอัลตร้าไวโอเลตที่ทำให้หลอดสว่างขึ้น ใช้งานร่วมกับบัลลาสต์ และ สตาร์ทเตอร์ ให้แสงสว่างนวลตา เหมาะกับการทำงาน สามารถให้สีของแสงได้หลายแบบ เช่น สี warm white ให้แสง สีขาวอมเหลืองนวล ทำให้รู้สึกอบอุ่น สี cool white ให้แสงสีขาวอมฟ้า ให้ความรู้สึกเย็นสบายตา แต่จะทำให้สีของวัตถุเพี้ยนไป และสี day light ให้แสงใกล้เคียงกับแสงธรรมชาติ ทำให้มองเห็นสีของ วัตถุใกล้เคียงกับสีจริง ให้แสงสว่างมากขึ้น 4 เท่า มีอายุการใช้งานยาวนานกว่าถึง 8 เท่า (6,000 ถึง มากกว่า 20,000 ชั่วโมง) และใช้พลังงานเพียง 20% เมื่อเทียบกับหลอดไส้หลอดเรืองแสงหรือหลอดฟลูออเรสเซนต์(Fluorescent Lamp)หลอดเรืองแสงหรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent Lamp) ทำด้วยหลอดแก้วที่สูบอากาศออกจนหมดแล้วบรรจุไอปรอทไว้เล็กน้อย มีไส้ที่ปลายหลอดทั้งสองข้าง หลอดเรืองแสงอาจทำเป็นหลอดตรง หรือครึ่งวงกลมก็ได้  ส่วนประกอบและการทำงานของหลอดเรืองแสง มีดังนี้
            1. ตัวหลอด  ภายในสูบอากาศออกจนหมดแล้วบรรจุไอปรอทและก๊าซอาร์กอน เล็กน้อย  ผิวด้านในของหลอดเรืองแสงฉาบด้วยสารเรืองแสงชนิดต่างๆ แล้วแต่ความต้องการให้เรืองแสงเป็นสีใด เช่น ถ้าต้องการให้เรืองแสงสีเขียว ต้องฉาบด้วยสารซิงค์ซิลิเคต แสงสีขาวแกมฟ้าฉาบด้วยมักเนเซียมทังสเตน แสงสีชมพูฉาบด้วยแคดเนียมบอเรต เป็นต้น
           2. ไส้หลอด ทำด้วยทังสเตนหรือวุลแฟรมอยู่ที่ปลายทั้งสองข้าง เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านไส้หลอดจะทำให้ไส้หลอดร้อนขึ้น ความร้อนที่เกิดขึ้นจะทำให้ไอปรอทที่บรรจุไว้ในหลอดกลายเป็นไอมากขึ้น แต่ขณะนั้นกระแสไฟฟ้ายังผ่านไอปรอทไม่สะดวก เพราะปรอทยังเป็นไอน้อยทำให้ความต้านทานของหลอดสูง
          3. สตาร์ตเตอร์ ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ไฟฟ้าอัตโนมัติของวงจรโดยต่อขนานกับหลอด ทำด้วยหลอดแก้วภายในบรรจุก๊าซนีออนและแผ่นโลหะคู่ที่งอตัวได้ เมื่อได้รับความร้อน  เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านก๊าซนีออน ก๊าซนีออนจะติดไฟเกิดความร้อนขึ้น ทำให้แผ่นโลหะคู่งอจนแตะติดกันทำให้กลายเป็นวงจรปิดทำให้กระแสไฟฟ้าผ่านแผ่นโลหะได้ครบวงจร   ก๊าซนีออนที่ติดไฟอยู่จะดับและเย็นลง แผ่นโลหะคู่จะแยกออกจากกันทำให้เกิดความต้านทานสูงขึ้นอย่างทันทีซึ่งขณะเดียวกันกระแสไฟฟ้าจะผ่านไส้หลอดได้มากขึ้นทำให้ไส้หลอดร้อนขึ้นมาก  ปรอทก็จะเป็นไอมากขึ้นจนพอที่นำกระแสไฟฟ้าได้
         4. แบลลัสต์  เป็นขดลวดที่พันอยู่บนแกนเหล็ก  ขณะกระแสไฟฟ้าไหลผ่านจะเกิดการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้น เมื่อแผ่นโลหะคู่ในสตาร์ตเตอร์แยกตัวออกจากกันนั้นจะเกิดวงจรเปิดชั่วขณะ    แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้นในแบลลัสต์จึงทำให้เกิดความต่างศักย์ระหว่างไส้หลอดทั้งสองข้างสูงขึ้นเพียงพอที่จะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไอปรอทจากไส้หลอดข้างหนึ่งไปยังไส้หลอดอีกข้างหนึ่งได้   แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดจากแบลลัสต์นั้นจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำไหลสวนทางกับกระแสไฟฟ้าจากวงจรไฟฟ้าในบ้าน ทำให้กระแส ไฟฟ้าที่จะเข้าสู่วงจรของหลอดเรืองแสงลดลง
          
3.6  หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์
      มีหลักการทำงานเหมือนหลอดฟลูออเรสเซนต์ มีทั้งแบบที่มีบัลลาสต์ในตัว มีขั้วเป็นแบบเกลียว สวมใส่เข้ากับเต้าเกลียวของหลอดไส้ได้เลย และแบบที่มีขั้วเป็นขาเสียบ ใช้ร่วมกับโคม และมีบัลลาสต์ภายนอก โดยผลิตออกมาหลายค่าพลังงาน สีของแสง มี warm white, cool white และ day light เช่นเดียวกับหลอดฟลูออเรสเซนต์ รูปร่างก็หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นหลอดคู่ หลอดสี่แถว หลอดยาว หลอดเกลียว หลอดมีโคมครอบ มีอายุการใช้งานยาวนานกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์


หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์มี 2 ชนิด คือ
1. หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายใน
   1.1 หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายในชนิดแกนเหล็ก คือ หลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ได้รวมเอาบัลลาสต์และ สตาร์ทเตอร์อยู่ภายใน ผลิตขึ้นมาแทนหลอดไส้ สามารถนำไปสวมกับขั้วหลอดไส้ชนิดเกลียวได้ทุกดวงได้ทันที ลักษณะของหลอดภายในเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาดเล็กเป็นแท่งแก้วดัดโค้งเป็นรูปตัวยูมีเปลือกเป็นโคม ทรงกระบอก มีชุดบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์ปิดผนึกรวมกันอยู่ในชิ้นเดียวกันกับตัวหลอด
   1.2 หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายในชนิดอิเล็คทรอนิกส์ มีลักษณะเหมือนหลอดฟลูออเรสเซนต์บัลลาสต์ ภายในชนิดแกนเหล็ก จะต่างกันที่เป็นหลอดประหยัดไฟขนาดเล็กที่ไม่มีโคมกระบอก ผลิตด้วยเทคโนโลยี ล่าสุด ในการทำบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์อิเลคทรอนิกส์ซึ่งพัฒนารูปแบบของหลอดให้ประหยัดและมีขนาด กระทัดรัดขึ้นกว่าเดิม ตัวหลอดเป็นแท่งแก้วโค้งเป็นรูปตัวยูหลายชุดและใช้เทคนิคพิเศษเชื่อมต่อกัน หลอด ชนิดนี้จะติดทันทีโดยไม่กระพริบ
2. หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายนอก
ใช้หลักการเช่นเดียวกับหลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายใน แตกต่างกันที่หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายนอก สามารถเปลี่ยนเฉพาะตัวหลอดได้ ในการติดตั้งใช้งานจะต้องมีขาเสียบเพื่อใช้กับบัลลาสต์ที่แยกออก หรือขาเสียบที่มีชุดบัลลาสต์รวมอยู่ด้วย

1.3.7  หลอด LED
      LED ย่อมาจาก Light Emitting Diode คือ ไดโอดเปล่งแสง ซึ่งสามารถเปล่งแสงออกมาได้ แสงที่เปล่ง ออกมาประกอบด้วย คลื่นความถี่เดียวและเฟสต่อเนื่องกัน โดยหลอดLED สามารถเปล่งแสงได้เมื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้า เพียงเล็กน้อยเท่านั้นแต่ประสิทธิภาพของแสง ที่เปล่งออกมาสามารถให้ความสว่างได้สูง จึงมีข้อดีในเรื่องของการประหยัดไฟและให้พลังงาน ความร้อนต่ำ
     หลอด LED ถือว่าเป็นทางเลือกของอนาคตได้เลยทีเดียว ด้วยคุณสมบัติการทำงานที่ไม่มีการเผา ไส้หลอด จึงไม่เกิดความร้อน แสงสว่างเกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอภายในสารกึ่ง พลังงานเปลี่ยนเป็นแสงสว่างได้เต็มที่ มีแสงหลายสีให้เลือกใช้งาน ขนาดที่เล็กทำให้ยืดหยุ่นในการ ออกแบบ การจัดเรียง นำไปใช้ด้านตกแต่งได้ดี มีความทนทาน ไม่ต้องห่วงเรื่องไส้หลอดขาด หรือ หลอดแตก ด้านอายุการใช้งานก็อยู่ได้ถึง 50,000-60,000 ชั่วโมง ทั้งยังปรับหรี่แสงได้ง่ายกว่าหลอด ฟลูออเรสเซนต์ และที่สำคัญ ปราศจากปรอท และสารกลุ่มฮาโลเจนที่เป็นพิษ แต่มีข้อเสีย คือในปัจจุบันหลอด LED มีราคาสูงกว่าหลอดธรรมดาทั่วไปและมีความสว่างไม่มากนัก
    หลอด LED HI-TEK ประกอบด้วยหลอด LED เล็กๆ 30หลอดขั้ว E27 (แบบเกลียว) กินไฟเพียง  1.5วัตต์ มีทั้งแบบต่อตรง 220V อายุการใช้งาน 40,000 ชม. สามารถลดค่าใช้จ่ายได้เป็น
อย่างมาก หลอด LED จุดติดทันที อุณหภูมิการใช้งาน: -40ถึง 50C ค่าพาวเวอร์เฟกเตอร์  มากกว่า 95% จึงประหยัดไฟอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด มีหลายสีให้เลือก: สีขาว นวล แดง
น้ำเงิน เขียว เหลือง และ รวมสี

1.4 การเลือกซื้อหลอดไฟ
    หลอดไฟ LED หรือ Light Emitting Diode คือเทคโนโลยีของการส่องสว่างใหม่ กินไฟน้อย ทนทาน ให้ความสว่างสูง เกิดความร้อนต่ำมาก ส่วนแต่ละค่ายก็อาจจะทำLEDออกมาต่างๆกัน และก็ยังเรียกชื่อต่างๆกันไปโดยที่ไม่มีสถาบันหรือมาตรฐานอะไรรองรับกัน เช่นเรียกว่า LED Super Bright บ้างต่อมาก็ตั้งกันเป็นLED Ultra Bightคือเพื่อให้มันดูเหมือนว่าสว่างกว่า Super Bright และก็มีบางค่ายก็ตั้งเป็น High Bright , Extra Bright , ฯลฯก็แล้วแต่จะเรียกกันไป สรุปได้ว่า Ultra Bright ของค่ายนึงอาจสว่างน้อยกว่า Super Bright ของอีกค่ายก็ได้ และทำนองเดียวกันอาจสว่างน้อยกว่า LED ธรรมดาที่ไม่มีสร้อยต่อท้ายของค่ายโน้นก็ได้ เพราะไม่มีมาตรฐานอะไรที่บ่งชี้ไว้ชัดเจนนี่เอง ดังนั้นสิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกซื้อ LED คงไม่ใช่ชื่อที่ตั้งไว้สวยหรูกระมัง แต่น่าจะพิจารณาจาก
     ความสว่างของLED ควรทราบว่าLEDนั้นมีหลายเกรด บางทีโคมยี่ห้อนึงมีจำนวน100หลอดLED แต่อาจสว่างกว่าอีกยึ่ห้อที่มี 200 หลอดLED ก็เป็นได้ ราคาของเม็ดLEDมันต่างกันครับ
     มุมกระจายของแสง อันนี้สำคัญมากควรทราบว่าธรรมชาติของLEDนั้นพุ่งตรงก็แบบที่นำมาทำไฟฉายนั่น คือพุ่งแต่ไม่กระจาย ดังนั้นเวลาไปใช้ทำไฟทางจริงๆจะสว่างแค่เป็นกระจุก เรื่องกระจายแสงนี้บางทีอาจจะสำคัญกว่าความสว่างที่จุดใดจุดหนึ่งของLED เสียอีก
     การกินไฟ ผมได้รับคำถามบ่อยๆว่า LED กี่วัตต์ พอตอบว่ากินไฟ3วัตต์ ก็จะได้รับการตอบกลับจากผู้ถามว่า แล้วมันจะสว่างเหรอ กินไฟเท่านั้น? จริงหรือ? ผมอยากได้LEDสัก12วัตต์ มีไหมครับ , 20W, ล่ะ? ที่จริงแล้วนั่นเป็นความเข้าใจผิดของผู้ซื้อเองถ้าเป็นหลอดไฟทั่วๆไปเวลาเราพูดถึงการกินไฟเท่าไหร่ นั่นหมายถึงมันยิ่งสว่าง แต่ถ้าเป็นLEDแล้วละก็ เทคโนโลยีด้านนี้ไปเร็วมากๆครับ ทุกๆเดือนที่ผ่านไปต้องประเมินกันใหม่LED ที่ดีนั้นมีแนวโน้มที่จะต้องสว่าง ให้แสงเป็นวงกว้าง และต้องกินไฟให้น้อยที่สุด นั่นหมายความว่าหลอดLED30Wยี่ห้อนึงอาจสว่างน้อยกว่าLEDแค่10Wของอีกยี่ห้อนึงก็ได้ มันอยู่ที่คุณภาพ และแน่นอนว่าบนราคาที่พอยอมรับกันได้ นี่คือเทคโนโลยีเพื่อการประหยัดพลังงานอย่างแท้จริง
เป็นเทคโนโลยีเพื่ออนาคตอย่างแท้จริง ดังนั้นเราอาจสรุปได้ว่าLEDที่กินไฟมากคือLEDที่ล้าสมัย และส่วนใหญ่คือมันจะเป็น LEDที่ซื้อมาในราคาถูกจากบ้านหม้อหรือคลองถมเท่านั้น ราคาLEDนั้นอาจจะต่างกันมากๆในแบบต่างๆ โดยราคาจะเริ่มที่ราคาเม็ดละไม่ถึง 1 บาท จนกระทั่งเม็ดละ10กว่าบาท หรืออาจจะเม็ดละกว่าร้อยบาทถ้าเป็นLEDแบบ High Power และปัจจุบันนี้มีถึงเม็ดละเป็นพันก็มีครับ แต่ใช้เพียงเม็ดเดียวสว่างสุดๆ
     ความทนทานและความเสื่อม LED บางชนิดนั้นต้องบอกเลยครับว่าดูดี แต่ไม่ทน เนื่องจากข้อจำกัดของLEDเอง หลอดไฟทุกชนิดเมื่อใช้ไปเรื่อยๆแสงสว่างจะลดลงเรื่อยๆ สังเกตุดูว่าเวลาเราเปลี่ยนหลอดไฟใหม่ๆจะสว่างมากๆ พอใช้ไปเรื่อยๆจะลดลง LEDก็เช่นกัน แถมยังลดลงมากกว่าหลอด Flourescent อีกด้วย แต่LEDที่ดีปัญหาตรงนี้จะเกิดขึ้นน้อยกว่ามาก
คำแนะนำด้านความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้าแสงสว่าง
1.เมื่อจะเปลี่ยนหลอดควรดับหรือปลดวงจรไฟฟ้าแสงสว่างนั้น
2.สังเกตบัลลาสต์ว่ามีกลิ่นเหม็นไหม้ หรือรอยเขม่่าหรือไม่
3.ถ้าเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์
4.ขั้วหลอดต้องแน่นและไม่มีรอยไหม้ที่พลาสติกขาหลอด
5.ไม่นำวัสดุที่ติดไฟง่าย เช่น ผ้า กระดาษ ปิดคลุมหลอดไฟฟ้า
6.ถ้าหลอดขาดหรือชำรุดบ่อย ให้ตรวจสอบแรงดันไฟฟ้าว่าสูงผิดปกติหรือไม่ ถ้าพบผิดปกติให้รีบแจ้งการไฟฟ้านครหลวงทันที
7.ถ้าโคมไฟเป็นโลหะและอยู่ในระยะที่จับต้องได้ควรติดตั้งสายดินด้วย มิฉะนั้นจะต้องเป็นประเภทฉนวน 2 ชั้น
8.หลอดไฟที่ขาดแล้วควรใส่ไว้ตามเดิมจนกว่าจะเปลี่ยนหลอดใหม่
9.หลอดไฟขนาดเล็กที่ใช้ให้แสงสว่างตามทางเดินตลอดคืนซึ่งใช้เสียบกับเต้ารับนั้นอาจมีปัญหาเสียบไม่แน่นจนเกิดความร้อนและไฟไหม้ได้ นอกจากนี้วัสดุที่ใช้มักมีคุณภาพต่ำไม่ทนทานต่อความร้อน จึงไม่แนะนำให้ใช้ หรือเสียบทิ้งไว้โดยไม่มีผู้คนดูแลอยู่ใกล้ๆ
10.ดูข้อความปฎิบัติในการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย


..............................................................................................................


บรรณานุกรม
ข้อมูลจากเว็บ
   วิกิพีเดีย.  (2555).  รายการข่าว.  ค้นเมื่อ 28 กันยายน 2555, จาก
                http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B2





........................................................................................................................